ผลของการใช้เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทกชนิดโฟกัส ต่อระดับอาการปวดและความสามารถ
ในการใช้งานข้อไหล่ ในผู้ป่วยเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ
(The effect of Focused Shock Wave Therapy in shoulder tendinitis patients.)
กภ.มณีรัตน์ ยีมูดา นักกายภาพบำบัดชำนาญการ
กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทกชนิดโฟกัส ต่อระดับอาการปวดและ
ความสามารถในการใช้งานข้อไหล่ ในผู้ป่วยเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองทางคลินิก
สถานที่ทำการวิจัย: งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปวดไหล่ ระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยนอกที่มีอาการปวดไหล่ ระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และส่งปรึกษากายภาพบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก ชนิดโฟกัส ความแรง 0.01
– 0.10 มิลลิจูลต่อตารางเมตร โดยความแรงคลื่นอยู่ในระดับที่ผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกปวดทนได้ (as pain tolerance) ความถี่ 1 – 4 เฮิตซ์ 1,000 ช็อกต่อครั้ง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ วม 3 สัปดาห์ ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อคงองศา
การเคลื่อนไหว วัดผลโดยประเมินระดับความปวด โดยใช้แผ่นภาพ Numeric Rating Scale และประเมินความสามารถในการใช้งานข้อไหล่ด้วยแบบประเมินดรรชนีความจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของหัวไหล่
(Shoulder Pain And Disability Index, Thai SPADI)ก่อนการรักษาและหลังการรักษาด้วยคลื่นกระแทกสัปดาห์ที่ 3 และ 5

คำสำคัญ: คลื่นกระแทกชนิดโฟกัส, เอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ

** รอเอกสารขอเผยแพร่ฯ

เอกสารแนบ (ใหม่)

File Description File size Downloads
pdf ผลของการใช้เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นก 220 KB 185

ปรับปรุงเมื่อ 22 มีนาคม 2024 เวลา 10:45:36

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/msth