ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลังให้ยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
(ผ่องพิศ มุกดาสกุลภิบาล พย.บ. บุบผา ธรรมานุภาพ พย.บ.)
บทคัดย่อ
ภาวะความดันโลหิตต่ำ พบบ่อยในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลังให้ยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง ซึ่งเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกการศึกษานี้เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลังให้ยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังก่อนและหลังใช้โปรแกรม และศึกษาความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลหลังใช้โปรแกรมการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มอิสระจากกันซึ่งเป็นผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 100 คนที่ได้รับยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง กลุ่มควบคุม (n = 50) ได้รับการดูแลตามปกติ และกลุ่มทดลอง (n = 50) ได้รับการดูแลตามโปรแกรมโดยการให้สารน้ำอย่างรวดเร็วขณะฉีดยาชาร่วมกับการใช้หมอนที่ออกแบบมาหนุนสะโพกขวาสูงความเอียง30 องศาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงบรรยายและเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำด้วยสถิติไค-สแควร์
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 30.12 ปี (SD=5.55) และกลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 29.54 ปี (SD=5.79) พบอัตราการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในกลุ่มควบคุมมากกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ร้อยละ 68.0 และ32.0 ตามลำดับ; 2=7.890, p = 0.005) วิสัญญีพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมในระดับมาก (M =4.17, SD =0.481)โปรแกรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำสามารถป้องกันการเกิดภาวะภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหลังให้ยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังได้ และควรศึกษาการบริหารยา oxytocin เพราะอาจเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้
คำสำคัญ ภาวะความดันโลหิตต่ำ ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง การให้ยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง การหนุนสะโพกขวาสูง