การพยาบาลผู้ป่วยรับการเจาะดูดเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องส่องหลอดลมคลื่นอัลตราซาวนด์
Endobronchial Ultrasound –guided Transbronchial Needle Aspiration (EBUS-TBNA)

อัญชนา เสมอภาค (Aunchana Smoephark)
ผู้ให้การติดต่อ (Corresponding e-mail: aunna_smoe@hotmail.com) โทรศัพท์081-7289695

 

บทคัดย่อ
ภาวะก้อนในปอด เป็นสิ่งที่ตรวจพบได้จากการถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการทางปอด เช่น ไอ เจ็บหน้าอก หรือตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี  การได้รับการตรวจวินิจฉัยก้อนในปอดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อกระบวนการรักษาในลำดับต่อไป  กรณีศึกษานี้นำเสนอบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยรับการเจาะดูดเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องส่องหลอดลมคลื่นอัลตราซาวนด์ Endobronchial Ultrasound –guided Transbronchial Needle Aspiration ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการส่องกล้องปอดและหลอดลมเพื่อหาสาเหตุหรือชนิดของก้อนในปอด ระยะของเซลล์มะเร็ง  มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในทุกระยะของการส่องกล้อง ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง ระยะส่องกล้อง และระยะหลังส่องกล้องเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ครอบครัว  ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเจาะดูดเนื้อเยื่อ ให้ผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องตามนัดหมาย ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งปอด
คำสำคัญ : การเจาะดูดเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องส่องหลอดลมคลื่นอัลตราซาวนด์

ปรับปรุงเมื่อ 15 มีนาคม 2021 เวลา 12:17:47

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/gnpd