The professional nurses’ competencies in caring management of patients
with mechanical at Vachira Phuket hospital
สุนันทา ระวิวรรณ, พย.บ.*
1

บทคัดย่อ
                  การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มากกว่า 1 ปี โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จำนวน 143 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ หาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
                 ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ ระดับการศึกษา ส่วน อายุ ประสบการณ์ทำงานในหน่วยงาน ปัจจุบัน และการได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมด้านการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ด้านการบริหารจัดการ (p<0.01) ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพทุกด้าน (p<0.05) ผลการวิจัยนี้ผู้บริหารสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดคุณสมบัติส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพยาบาลวิชาชีพสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองในการจัดการการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ


คำสำคัญ : สมรรถนะทางการพยาบาล, การจัดการดูแล, เครื่องช่วยหายใจ

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/2y1q