บทคัดย่อ
ที่มา:
โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช มีอัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2563 พบร้อยละ 11.01 ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจะได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลที่หมุนเวียนตามระบบการมอบหมายงาน การดูแลรักษาพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน แต่ละเวร และแต่ละผู้ดูแล เมื่อไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก แพทย์จะอนุญาตให้กลับไปดูแลตัวเองที่บ้านโดยไม่มีการติดตามเยี่ยม และดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้หญิงตั้งครรภ์กลับมารับการรักษาซ้ำด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้บางรายไม่สามารถยับยั้งได้และคลอดก่อนกำหนด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการดูแลต่อเนื่องต่อความพึงพอใจในการพยาบาล การกลับมารักษาซ้ำ อายุครรภ์เมื่อคลอด และคะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิด

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- experimental design) โดยเริ่มตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์เข้ามาพักรักษาในห้องคลอดโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราชด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อน
กำหนดได้รับการดูแลต่อเนื่องจนกระทั่งคลอด และจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 25 ราย ได้รับการดูแลตามปกติจากพยาบาลห้องคลอดและกลุ่มทดลอง 25 ราย ได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับการดูแลต่อเนื่องจากผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลคะแนนความพึงพอใจในการพยาบาลหลังจากคลอดแล้วที่ตึกหลังคลอดหรือตึกพิเศษ ข้อมูลการกลับมารักษาซ้ำ อายุครรภ์เมื่อคลอด คะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิดจากบันทึกรายงานการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจในการพยาบาลใช้สถิติ Independent t-test และเปรียบเทียบการกลับมารักษาซ้ำ อายุครรภ์เมื่อคลอด คะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิดโดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test)

ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความพึงพอใจในการพยาบาลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=4.531, p<.001) กลุ่มทดลองมีการกลับมารักษาซ้ำไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x 2 = 0.166  sig = .684) กลุ่มทดลองมีอายุครรภ์เมื่อคลอดไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=1.514, p = 0.136) กลุ่มทดลองมีคะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิดนาทีที่ 1 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.826, p = 0.221) และกลุ่มทดลองมีคะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิดนาทีที่ 5 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=0.864, p = 0.392) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการดูแลต่อเนื่องทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความพึงพอใจในการพยาบาล ดังนั้นโรงพยาบาลควรนำการดูแลต่อเนื่องมาใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

สรุป: การดูแลต่อเนื่องมีผลต่อระดับความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำ นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอด ช่วยลดอัตรา
การคลอดก่อนกำหนด และช่วยให้คะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

คำสำคัญ: การดูแลต่อเนื่อง, การกลับมารักษาซ้ำ, คะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิด, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

The Effects of a Continuous Care on Satisfaction of Nursing Care, Readmission
and Gestational Age at Birth in Pregnant Women with Preterm Labor
and Neonatal Apgar Score
Nisakorn Nungkala Senior Professional Nurse
Department of nursing, Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital

Abstract
Background:
Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital, The preterm labor rate has
continued to increase in the fiscal year 2020 found 11.01%. Pregnant women with preterm
labor will care from doctors and nurses that rotate according to the assignment system.
Nursing care changes from day to day, and to caregivers. When there is no uterine
contraction. Your doctor will allow you to go back and take care of yourself at home
without a follow-up visit. And continuous care causing pregnant women to return for
treatment with preterm labor as a result, some were unable to stop and gave birth
prematurely.
Objectives: To study the effect of continuing care on nursing satisfaction. Recurrence
gestational age at birth and the newborn
, s Apgar score.
Method: This study was a quasi-experimental design which started when pregnant
women were admitted to the delivery room at Maharaj Nakhon Si Thammarat hospital with
preterm labor received continuous care until delivery. And discharged from the hospital.
Make a specific sample selection. Divided into a control group, 25 received regular care from
a maternity nurse. And the experimental group of 25 received usual care together with
follow-up care from the investigator. Postpartum nursing satisfaction scores were collected
at the postpartum or special building. Recurrence information gestational age at birth
neonatal Apgar score from birth report record. Personal data were analyzed by frequency
distribution, mean and standard deviation. The nursing satisfaction scores were compared
using the Independent t-test and the recurrence of treatment was compared. Gestational
age at birth neonatal Apgar score using Chi-square test.

Results: The experimental group had a statistically significantly higher nursing
satisfaction score than the control group. (t=4.531, p<.001) The experimental group had no
statistically significant difference in re-admithed. (x
 2 = 0.166 sig = .684) The experimental
group had no statistically significant difference in gestational age at birth. (
t=1.514, p = 0.136)
The experimental group had no statistically significant difference in the first minute
neonatal
,s Apgar score. (t=0.826, p = 0.221) And the experimental group had no statistically
significant difference in the fifth minute neonatal
,s Apgar score. (t=0.864, p = 0.392) The
results of this study indicated that continuation of care improved nursing satisfaction among
pregnant women with pre term labor. Therefore hospital should adopt continuous care to
care for pregnant women with preterm labor.
Conclusion: Continuing care had an effect on the satisfaction level of pregnant
women with preterm labor. Recurrence it also helps to encourage pregnancy to continue
until full term. Helps reduce the rate of preterm birth and help the neonatal
, s Apgar score
rate to be normal.
Keyword: Continuous Care, Re-admithed, Neonatal, s Apgar score, Preterm labor

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/j131