บทคัดย่อ
การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกและจำแนกผลลัพธ์การตั้งครรภ์ ในสตรีที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ระหว่างปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ โดยการสกัดข้อมูลมารดาที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและบันทึกในแบบบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลความชุกและผลลัพธ์การตั้งครรภ์ โดยใช้สถิติบรรยายและทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่าในช่วงปีที่ศึกษามีสตรีมารับบริการคลอดบุตร จำนวน ๑๙,๒๓๑ ราย เป็นสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และถูกเลือกเข้าศึกษา ร้อยละ ๒.๒๓ (ก= ๔๒๙) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย ๓๐.๕ ปี เป็นสตรีวัยรุ่น ร้อยละ ๖.๑ และสตรีอายุมาก ร้อยละ ๓๔.๒ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์เดี่ยวร้อยละ ๙๘.๑ และคลอดบุตรครั้งแรกร้อยละ ๖๕.๕ มีกลุ่มตัวอย่างพียงร้อยละ ๓๙.๔ ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ประมาณร้อยละ ๒๓ มีภาวะโลหิตจาง และ ร้อยละ ๒๐.๑ มีภาวะเบาหวานจากการตั้งครรภ์ และ ร้อยละ ๙.-มีโรคร่วมทางอายุรกรรม ในกลุ่มสตรีที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์นี้ ร้อยละ ๗๕.๓ ได้รับการวินิจฉัยภาวะ severe pre-eclampsia และ ร้อยละ ๒.๘ มีภาวะแทรกซ้อนของ HELLP syndrome ในระยะคลอด ขณะที่ ร้อยละ o.๗ มีภาวะ eclampsia ในระยะหลังคลอด มีมารดาร้อยละ ๒.๓ ถูกส่งต่อไปรับการดูแลรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤติ และ ร้อยละ ๐.๒ (ก=๑) เสียชีวิตเนื่องจากภาวะไขมันพอกตับเฉียบพลัน ส่วนข้อมูลวิธีคลอดแสดงถึงอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงมากในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๗๕.๙ ผลการวิจัยยังพบว่าในกลุ่มตัวอย่างทารกแรกเกิด ๔๓๗ ราย ร้อยละ ๓๗.๙ เป็นทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ ๔๒.๘ เป็นทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๑๐.๕ ได้รับการวินิจฉัยภาวะเติบโตช้าในครรภ์ และร้อยละ ๕.๕ มีภาวะ fetal distress นอกจากนี้ ยังพบทารกแรกเกิด ร้อยละ ๑๕.๔ และ ร้อยละ ๒.๕ มีคะแนนแอปการ์น้อยกว่า ๗ ที่ ๑ นาทีและ ๕ นาทีแรกเกิด ตามลำดับ รวมทั้งพบกลุ่มตัวอย่างทารกร้อยละ ๒๗.๒ มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และร้อยละ ๒๘.- มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำในระยะ ๒ ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยมีทารกร้อยละ ๒๖.๑ ถูกย้ายไปดูแลรักษาที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤติ ทารกตายปริกำเนิด ร้อยละ ๒.๗ ลักษณะมารดาที่สัมพันธ์กับการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อย่างมีและนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๑ ได้แก่ อายุ เชื้อชาติ ระดับการศึกษา ลำดับการคลอด และอายุครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรก และชนิดของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< .0๑) กับการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิด ภาวะ fetal distress คะแนนแอปการ์นาทีที่ ๑ และนาทีที่ ๕ น้อยกว่า ๗ นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะเบาหวานจากกรตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับชนิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.00๐) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ทั้งในมารดาและทรกแรกเกิด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนการดูแลในเชิงระบบ และพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลรักษาทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ดีในสตรีที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
คำสำคัญ: ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, โรคพิษแห่งครรภ์, ผลลัพธ์การตั้งครรภ์