การพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia)
โรงพยาบาลคุระบุรีชัยพัฒน์ : กรณีศึกษา

มรกต วรธรรมาทิพย์, พย.บ

หลักการและเหตุผล

          โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังทางจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทั่วโลก ผู้ป่วยมีความผิดปกติของกระบวนการคิด การรับรู้ อารมณ์ และพฤติกรรม การดำเนินของโรคจะเป็นลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ผิดปกติจากบุคคลทั่วไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการเข้าสังคม การทำงาน การดูแลตนเอง และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น พบความชุกในประชากรทั่วโลกประมาณร้อยละ 0.3-0.71 และอุบัติการณ์ของโรคพบประมาณ 1.5 คนต่อประชากร 10,000 คน (McGrath J, Saha S, Chant D, Welham, J.,2008) ผู้ป่วยโรคจิตเภทจะปรากฏกลุ่มอาการ ใน 2 ลักษณะ คือ กลุ่มอาการทางบวก (positive symptoms) เช่น อาการหลงผิด (delusions) ประสาทหลอน (hallucinations) พฤติกรรมและการพูดผิดปกติ (disorganized speech and behaviors) เป็นต้น และกลุ่มอาการทางลบ (negative symptoms) เช่น อารมณ์เรียบเฉย (flat affect) การเคลื่อนไหวช้าลง (slow movements) การดูแลตนเองบกพร่อง (poor self-care) เป็นต้น (American Psychiatric Association,2013 ) ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยมีการแสดงออกของพฤติกรรมที่ผิดปกติจากบุคคลทั่วไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการเข้าสังคม การทำงาน         การดูแลตนเอง และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Dziwota E, Stepulak MZ, Włoszczak-Szubzda A, Olajossy M.,2018) ลักษณะดังกล่าวจึงทำให้โรคจิตเภทกลายเป็นโรคเรื้อรังของสังคม ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้อาการของโรคจิตเภทกำเริบได้ง่าย (American Psychiatric Association,2013 ),(Kahn RS, Keefe RS.,2013)

 

https://www.vachiraphuket.go.th/links/8whk

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/8whk