งานวิจัย: ผลการรักษาผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมองด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องผ่านโพรงจมูก และโพรงอากาศสฟินอยด์ ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

บทนำ : โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง หรือเนื้องอกต่อมพิทูอิทารี เป็นเนื้องอกของเซลล์ในต่อมใต้สมองที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ ในร่างกาย โดยเซลล์นั้นจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างผิดปกติ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป และผลการรักษาผู้ป่วยโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องผ่านโพรงจมูกและโพรงอากาศสฟีนอยด์ ซึ่งใช้การศึกษารูปแบบการศึกษาย้อนหลัง โดยประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านโพรงจมูกและโพรงอากาศสฟีนอยด์ ในระหว่างเดือนมกราคม 2550 ถึงเดือนธันวาคม 2561 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 14 ราย (70.0 มีค่ามัธยฐานของอายุอยู่ที่ 51 ปี (พิสัย 37-76 ปี) ผลการเอกชเรย์ก่อนผ่าตัด พบขนาดของก้อนเนื้องอกต่อมใต้สมอง มีค่ามัธยฐาน อยู่ที่ 64 มิลลิเมตร (พิสัย 34-1 75 มิลลิเมตร และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด คือ มีภาวะการรั่วของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง จำนวน 2 ราย (10.0) ขนาดของก้อนเนื้องอกต่อมใต้สมอง มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทิศทางเดียวกับระยะเวลาในการผ่าตัด (r = 0.694, p = 0.001)มีความสัมพันธ์ระดับสูงในทิศทางเดียวกันกับการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด (r = 0.791, P < 0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเนื้องอกต่อมใต้สมองมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาจืด (DI)อย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติ (P = 0.017 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการรั่วของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (CSF) และภาวะเยื่อหุ้นสมองอักเสบ สรุปผลการศึกษานี้พบว่า การประเมินขนาดของก้อนเนื้องอกต่อมใต้สมอง เพื่อนำมาใช้การวางแผนการผ่าตัด ซึ่งจะสามารถป้องกันการสูญเสียเลือดและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัดได้ด้วย

คำสำคัญ : เนื้องอกต่อมใต้สมอง, การผ่าตัดส่องกล้องผ่านโพรงจมูกและโพรงอากาศสฟีนอยด์, ผลการรักษา

ปรับปรุงเมื่อ 22 มีนาคม 2024 เวลา 10:47:03

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/yi7h