ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
Factors Related to the Absence of Treatment Appointments of the Patients
with HIV / AIDS in Vachira Phuket Hospital

นางสาวกัญญา พฤฒิสืบ
MissKanya  Phruetthisueb
พยาบาลวิชาชีพ ช านาญการ
งานเอดส์งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดนัดการรักษา และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้าน โครงสร้างสถานบริการ บุคคล ชุมชนที่มีผลต่อการขาดนัดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปมีประวัติขาดนัดเกิน 1 สัปดาห์อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี จำนวน349 คน และผ่านเกณฑ์สมัครใจในการทำแบบสอบถาม67 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์กับการขาดนัดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดนัดการรักษาเป็นเพศชายมากที่สุด ร้อยละ 55.20มีอายุระหว่าง 21-41 ปี ร้อยละ 53.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 52.20 มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 44.80 และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านโครงสร้าง สถานบริการ บุคคล/ชุมชนที่มีผลต่อการขาดนัดไม่มาตามนัดพบว่า (1) ด้านการเข้าถึงบริการ ได้แก่ มีระยะทางไกลจากบ้านพักหรือที่ท างานพบมากที่สุดร้อยละ 56.00 ไม่มีงานทำ ร้อยละ 32.00และมีค่าเดินทางแพงร้อยละ 16.00 (2) ด้านคุณภาพคลินิกพบว่า ไม่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดร้อยละ 53.80 และกลัวถูกเปิดเผยเลือดให้ผู้อื่นรู้ร้อยละ 30.80 (3) ด้านการทำงานและครอบครัวพบว่า ทำงานงานยุ่งพบมากที่สุดร้อยละ 67.60 ต้องดูแลครอบครัว ร้อยละ 38.20 และสามีหรือภรรยาเสียชีวิตร้อยละ5.90 (4)ด้านสุขภาพพบว่า มียารับประทานเหลือพบมากที่สุดร้อยละ 48.30 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ร้อยละ 31.00 และไม่จำเป็นต้องกินยาร้อยละ3.40และ (5)ด้านการรับรู้ข้อมูลอื่นๆการย้ายกลับบ้านพบมากที่สุดร้อยละ 100

คำสำคัญ: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์, การขาดนัดการรักษา, การคงอยู่ในระบบ

 

ภาพประกอบ: Ribbon photo created by jcomp – www.freepik.com

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/etr0