A nursing care for the patients with abdominal aortic aneurysm by Endovascular Aortic Aneurysm Repair: EVAR

พัชรี ประทีปไพศาลกุล * Patcharee Prateeppaisankul*
ผู้ให้การติดต่อ (Corresponding e- mail : patcharee7791@gmail.com )โทรศัพท์ 089-4742042

บทคัดย่อ
เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง หมายถึง ขนาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ในช่องท้องมีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 3 เซนติเมตร อาการที่พบได้คือ มีอาการปวดท้องและ
คลำก้อนได้ จากการตรวจร่างกายบริเวณหน้าท้อง การวินิจฉัยที่สำคัญคือ การเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ บริเวณหลอดเลือดแดงใหญ่ การรักษาเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง มี 2 วิธีคือ 1.การผ่าตัด
แบบเปิดช่องท้อง (Abdominal Aortic Aneurysm Open Repair :AAA) และ 2.การผ่าตัดรักษา โดยการสวนหลอดเลือด (Endovascular Aneurysm Repair :EVAR) วิธีที่สองนี้ แผลจะมีขนาดเล็ก
โดยใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Stent-Graft) และใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ Digital Subtraction Angiography (DSA) ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี


กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นเพศชายอายุ 80 ปี น้ำหนัก 45 กิโลกรัมเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงใหญ่ 48.6 มิลลิเมตร 
ใช้เวลาในการผ่าตัด 1 ชั่วโมง 3 นาที สัมผัสรังสี 28 นาที 35 วินาที ปริมาณรังสีที่ได้รับ 303.38 มิลลิเกรย์ และรายที่ 2 เป็นเพศหญิงอายุ 60 ปี น้ำหนัก 68 กิโลกรัมเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงใหญ่ 48.9 มิลลิเมตร ใช้เวลาในการผ่าตัด 1 ชั่วโมง 20 นาที สัมผัสรังสี 20 นาที 14 วินาที ปริมาณรังสีที่ได้รับ 614.69 มิลลิเกรย์ ซึ่งผู้ป่วยรายที่สองได้รับรังสีเป็นปริมาณสองเท่าของรายแรก เนื่องจากผู้ป่วยรายที่ 2 มีน้ำหนัก มากกว่ารายแรก 23 กิโลกรัม มีมวลไขมันมากกว่าจึงจำเป็นต้องใช้ปริมาณรังสีมากกว่าผู้ป่วยรายแรก ผลการตรวจสอบการรั่วของสารทึบรังสีหลังผ่าตัด (endoleak) ในผู้ป่วยทั้งสองรายพบว่าเป็นชนิด Type II endoleak บริเวณเส้นเลือดแดงที่กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ร้อยละ 80 หลังการผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงใหญ่ด้วยวิธีนี้

แนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดด้วยวิธีการสวนหลอดเลือดที่สำคัญคือ การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุและเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูง โดยการ
ประเมิน Revised Clinical Risk Index: (RCRI) ซึ่งประเมิน 6 ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ 1) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2) ภาวะหัวใจล้มเหลว 3) โรคหลอดเลือดสมอง 4) เบาหวานที่รักษาด้วย Insulin
5) ระดับ Serum Creatinine >2 มก. ต่อเดซิลิตร 6) ผู้ป่วยได้รับ Isotonic normal saline อย่างเพียงพอหรือไม่ และการรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ SBP>90.110 มิลลิเมตรปรอท
เพื่อป้องกันการขาดเลือดของอวัยวะภายใน และการดูแลให้สารนี้อย่างเพียงพอในระหว่างการผ่าตัด
ลดความเสี่ยงของ Hypovolemic shock และภาวะการบกพร่องของไตอย่างเฉียบพลันหลังจากได้รับสารทึบแสงเกิน 50 มิลลิลิตร

สรุปผลการศึกษาในกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดสอดใส่ขดลวดหุ้มกราฟต์ในหลอดเลือดแดงใหญ่ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการขาดเลือดในอวัยวะภายใน และ
ไม่พบภาวะบกพร่องในการท างานของไต หลังได้รับสารทึบรังสี ผู้ป่วยได้รับการรักษาและการพยาบาลตามแนวทางปฏิบัติของการผ่าตัดทางหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงครบถ้วน
คำสำคัญ : การผ่าตัดด้วยวิธีสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางหลอดเลือดแดง Endovascular Aortic Aneurysm Repair : EVAR

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/8574