พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในบุคลากรทางการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
(พจนา วิภามาศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต)
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ บุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต อย่างน้อย๑ ปี จำนวน ๓๓๘ คน โดยแบ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน ๑๙๗ คน พนักงานช่วยเหลือคนไข้และพนักงานประจำดีก จำนวน ๑๔๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในบุคลากรทางการพยาบาล ประกอบด้วยข้อมูล ๗ ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ การเข้าถึงข้อมูล การได้รับการสนับสนุน และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ ๐.๘๙ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมด้านการป้องกันวัณโรคจากการทำงานอยู่ในระดับดีร้อยละ ๙๖.๗๕ (M = ๔.๔๕, SD = ๑.๔๒ ) มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ ๙๙.๑๑ (M = ๑๗.๒๖, SD = ๑.๔๕)มีทัศนคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๙๗.๐๔ (M = ๓.๗๙, SD. = ๐.๓๐) มีระดับการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับดี ร้อยละ๘๗.๒๘ (M = ๒.๗๒, SD = ๐.๓๒) มีระดับสิ่งสนับสนุนและการจัดกรสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๘๔.๖๒ (M= ๒.๖๕, SD. = ๑.๓๕) มีระดับการได้รับคำแนะนำและสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานอยู่ในระดับดี ร้อยละ ๙๔.๙๗ (M = ๒.๘๘. SD. = ๐.๒๒) อยู่ในระดับดีทุกด้าน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณรคจากการทำงาน พบว่าปัจจัยด้านความรู้ (r = o.๑๖๓, P = ๐.๐๐๓) ทัศนคติ (r = ๐.๒๒๗, P < ๐.๐๐๑) การเข้าถึงข้อมูลด้านการป้องกัน (r = ๐.๓๕๔, P < ๐.๐๐๑) การได้รับสิ่งสนับสนุนและการจัดการสภาพแวดล้อม (r = ๑.๒๖๓, P < ๐.๐๐๑) และการได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน (r = ๐.๓๕๖, P < ๐.๐๐๓) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การนำผลการวิจัยไปใช้ โรงพยาบาลจึงควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องหลักการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการให้บริการทางการพยาบาลในกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาล เพื่อเพิ่มความรู้เป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง/คน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาล อีกทั้งการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในด้านการป้องกันการติดเชื้อวัณรคจากการทำงาน และการส่งเสริมให้เข้าถึงข้อมูลด้านการป้องกันวัณรคจากการทำงาน รวมถึงการกระตุ้นและสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานจะมีส่วนช่วยให้บุคลากรมีพฤติกรรมในการป้องกันวัณโรคดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ : พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน