สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เปิดเผยวิธีดูแลลูกเมื่อลูกติดโควิด 19

แม้การติดเชื้อโควิด 19 ในเด็กส่วนใหญ่กว่า 90% จะมีอาการไม่รุนแรง แต่มีกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว ที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ไตวายเรื้อรัง หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็ก โดยไม่จำเป็น โดยระยะฟักตัวภายใน 14 วัน แต่มักมีอาการของโรคใน 4-5 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ ปรอทวัดไข้ ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ส่วนเครืองวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไม่ค่อยมีความจำเป็น เนื่องจากสายพันธุ์ในปัจจุบันไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการปอดบวม นอกจากนั้นการจับออกซิเจนปลายนิ้วในเด็ก มักจะไม่ค่อยแม่นยำเนื่องจาก ขนาดของเครื่อง มักจะไม่กระชับกับนิ้วของเด็กซึ่งมีขนาดเล็กได้ จึงเน้นให้สังเกตอาการเป็นหลัก

การรักษาเบื้องต้นคือการประคับประคองตามอาการ

เมื่อมีไข้หรือปวดศีรษะ ให้ทานยาลดไข้ ส่วนใหญ่จะมีอาการไข้ไม่เกิน 2 – 3 วัน จะค่อยๆดีขึ้น

มีน้ำมูก ถ้าให้ทานยาลดน้ำมูกเท่าที่จำเป็น หรือถ้าน้ำมูกข้นเขียว ในเด็กโตสามารถล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการไอให้รับประทานยาแก้ไอตามอาการ และจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ

หากไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ หน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ถ่ายเหลว หรืออาเจียนมากต่อเนื่องกัน ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์หรือ โรงพยาบาลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ที่มา: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/171640

ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/dpp4