โรคอ้วน/ภาวะน้ำหนักเกิน มีผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ปวดหลัง ข้อเข่าเสื่อม และโรคมะเร็ง เป็นต้น
เราสามารถคำนวณดัชนีมวลกายเพื่อประเมินสภาวะร่างกายเบื้องต้นได้ จากสูตร
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร) 2
หากใครคำนวณดัชนีมวลกายของตนเองได้แล้ว ลองประเมินสภาวะตนเองได้เบื้องต้น จากเกณฑ์การประเมินในคลิปได้เลยนะ
หากใครกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจลดน้ำหนัก เราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
> ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการ
🥗ควบคุมอาหาร
🚴‍♀️การออกกำลังกาย
> หากปรับเปลี่ยนแล้วยังไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษา ได้แก่
💉การใช้ยาลดน้ำหนัก (BMI ≥27 kg/m2 ) หรือ
👨‍⚕️การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (กรณีมีโรคร่วม BMI ≥32.5 kg/m2, ไม่มีโรคร่วม BMI ≥37.5 kg/m2)
สำหรับคลิปนี้แอดมินขอแนะนำโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนเพื่อลดน้ำหนัก วันนี้จะเล่าถึงหัวข้อต่างๆ ดังนี้
✅เทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการบริโภคอาหาร
✅แนวคิดการกำหนดสัดส่วนอาหารที่ควรบริโภคในแต่ละมื้อ
ลองติดตามกันในคลิปได้เลยนะคะ
 
อ่านต่อที่
 
 
ติดตามพวกเราได้ที่ 
ลิงค์สำหรับนำไปเผยแพร่: https://www.vachiraphuket.go.th/links/ase4